แรงยึดเหนี่ยวทางเคมี
ในชีวิตประจำวันทั่วๆไปจะพบว่าสารชนิดหนึ่งๆมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนและเมื่อต้องการทำให้แยกออกจากกันจะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งตัวอย่างเช่น
1. เมื่อให้ความร้อนแก่สารจนกระทั่งโมเลกุลของสารมีพลังงานสูงพอจะทำให้เกิด
1)
การเปลี่ยนสถานะ น้ำแข็ง (ให้พลังงานความร้อน)
เปลี่ยนสถานะเป็น น้ำ(ของเหลว) ให้พลังงานความร้อน เปลี่ยนสถานะเป็น ไอน้ำ
2)
สารบางชนิดอาจแยกสลายออกเป็นสารหลายชนิดได้
2. เมื่อให้พลังงานไฟฟ้าโมเลกุลของสารบางชนิดจะสลายตัวให้ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
เช่นการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า
จากข้อมูลข้างต้น แสดงว่ามีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่เป็นองค์ประกอบของโมเลกุล
เราสามารถแบ่งแรงยึดเหนี่ยวออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล
(พันธะเคมี) อะตอม - อะตอม ได้แก่
1)
พันธะโคเวเลนต์ (covelent bond)
2)
พันธะไอออนิก (ionic bond)
3)
พันธะโลหะ (metallic bond)
2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
โมเลกุล - โมเลกุล ได้แก่
1)
แรงแวนเดอร์วาลส์ (vanderwaal force)
2)
แรงดึงดูดระหว่างขั้ว
(dipole-dipole interation)
3)
พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น